องค์การบริหารส่วนตำบล
แก่งโดม
อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี

 

 

 

 
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งโดม info_outline ข้อมูลการติดต่อ account_box หน่วยตรวจสอบภายใน folder ประกาศ
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งโดม อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี
check_circle แผนยุทธศาสตร์
แผนยุทธศาสตร์.
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

                   ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง  ด้วยยุทธศาสตร์ชาติ

                  ด้านความมั่นคง

                  (1) เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

                 (2) ปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศและพัฒนาความมั่นคงทางการ เมือง ขจัดคอร์รัปชั่น สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม

                 (3) การรักษาความมั่นคงภายในและความสงบเรียบร้อยภายใน ตลอดจนการบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนและชายฝั่งทะเล

                 (4) การพัฒนาระบบ กลไก มาตรการและความร่วมมือระหว่าง ประเทศทุกระดับ และรักษาดุลยภาพความสัมพันธ์กับประเทศ มหาอำนาจ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่

                 (5) การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการผนึกกำลังป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ สร้างความร่วมมือกับ ประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ

                 (6) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหาร จัดการภัยพิบัติ รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

                 (7) การปรับกระบวนการท างานของกลไกที่เกี่ยวข้องจากแนวดิ่งสู่ แนวระนาบมากขึ้น

 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

                (1) การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้า การลงทุน พัฒนาสู่ชาติการค้า

               (2) การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ เสริมสร้างฐานการผลิตเข้มแข็ง ยั่งยืน และส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยสู่เกษตรยั่งยืนเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม

               (3) การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาทักษะ ผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภาพแรงงานและพัฒนา SMEs สู่สากล

                (4) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมือง พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดน และพัฒนาระบบเมืองศูนย์กลางความเจริญ

                (5) การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่ง ความมั่นคงและพลังงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการวิจัย และพัฒนา

                 (6) การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก สร้างความเป็นหุ้นส่วน การพัฒนากับนานาประเทศ ส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานของการประกอบ ธุรกิจ ฯลฯ

                   ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

                   (1) พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

                   (2) การยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง

                   (3) ปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์

                   (4) การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี

                   (5) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย

                   ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาค และเท่าเทียมกันทางสังคม

                   (1) สร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม

                   (2) พัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ

                   (3) มีสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตในสังคมสูงวัย

                   (4) สร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและ ความเข้มแข็งของชุมชน

                   (5) พัฒนาการสื่อสารมวลชนให้เป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนา

                   ด้านการสร้างการเติบโต  บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                   (1) จัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติ

                   (2) วางระบบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพทั้ง 25 ลุ่มน้ำ เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการอุทกภัย อย่างบูรณาการ

                   (3) การพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                   (4) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเมืองที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม

                   (5) การร่วมลดปัญหาโลกร้อนและปรับตัวให้พร้อมกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                   (6) การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายการคลัง เพื่อสิ่งแวดล้อม

                   ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

                   (1) การปรับปรุงโครงสร้าง บทบาท ภารกิจของหน่วยงาน ภาครัฐ ให้มีขนาดที่เหมาะสม

                   (2) การวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ

                   (3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

                   (4) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

                   (5) การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ

                   (6) ให้ทันสมัย เป็นธรรมและเป็นสากล

                   (7) พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ

                   (8) ปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 12

                   ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ประเทศไทยจะยังคงประสบสภาวะแวดล้อมและบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากภายใน และภายนอกประเทศ อาทิ กระแสการเปิดเศรษฐกิจเสรี ความท้าทายของเทคโนโลยีใหม่ๆ การเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ การเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง ประกอบกับสภาวการณ์ด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศในปัจจุบันที่ยังคงประสบปัญหาในหลายด้าน เช่น ปัญหาด้านการผลิต ความสามารถในการแข่งขัน คุณภาพการศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น ทำให้การพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จำเป็นต้องยึดกรอบแนวคิดและหลักการในการวางแผนที่สำคัญ ดังนี้

                   (1) การน้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                   (2) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม

                   (3) การสนับสนุนและส่งเสริมแนวคิดการปฏิรูปประเทศ และ

                   (4) การพัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สังคมอยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุข

                    1.3 แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด

 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ)

                   วิสัยทัศน์

"ข้าวหอมมะลิเป็นเลิศ  การท่องเที่ยวและการค้าชายแดนได้มาตรฐานสากล

                   เป้าประสงค์การพัฒนารวม

                   1.เพิ่มผลิตให้ได้มาตรฐาน และสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยการแปรรูปเพิ่มช่องทาง การตลาดทั้งในและต่างประเทศ ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี

                   2.พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพให้ได้มาตรฐานและเสริมสร้างการบริหารจัดการการมีส่วนรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว

                   3.สร้างเครือข่ายการค้ากลุ่มจังหวัดเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนด้วยระบบโลจิสติกส์ (Logistics)

                   ประเด็นยุทธศาสตร์

                   ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิสู่ความต้องการของตลาด

                   ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวให้ได้ระดับมาตรฐานและยั่งยืน   

                   ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารจัดการธุรกิจการค้าและเพิ่มมูลค้าชายแดนครบวงจรและได้มาตรฐานสากล

                  

                    ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

                   วิสัยทัศน์

                   ชุมชนเข้มแข็ง  เมืองน่าอยู่  เป็นประตูการค้าและการท่องเที่ยว การเกษตรมีศักยภาพ

                   คำนิยาม

                   “ชุมชนเข้มแข็ง” ความหมาย ชุมชนสุขภาพดี มีการศึกษา อาชีพรายได้ บนวิถีพอเพียง มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน มีความแข็งแกร่งทางประเพณีและวัฒนธรรมและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเอง อย่างยั่งยืน

                   “เมืองน่าอยู่” ความหมาย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเมืองที่ประชาชนอยู่ด้วยความสุข สะดวกสบายสิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดีมีงานทำ มั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและสังคมสงบสุข

                   “เป็นประตูการค้าและการท่องเที่ยว” ความหมาย ช่องทางการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านโดยจังหวัดอุบลราชธานี มีภูมิประเทศที่มีพรมแดนติดต่อประเทศเพื่อนบ้านถึง 2 ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา รวมทั้งยังมีเส้นทางเชื่อมโยงกับเวียดนามและจีน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่มีศักยภาพและความต้องการสินค้าจากประเทศไทยสูง รวมทั้งการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

                   “การเกษตรมีศักยภาพ” ความหมาย การผลิตสินค้าการเกษตรของจังหวัดมีประสิทธิภาพ (Ability) และมีคุณภาพตามมาตรฐาน (Quality Satandard) สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจของจังหวัด

                   พันธกิจ

                   1.ยกระดับคุณภาพชีวิต  พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่

                   2.ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น

                   3.พัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตรและแปรรูปสินค้าการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

                   ประเด็นยุทธศาสตร์

                   1.ยกระดับคุณภาพชีวิต  พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่

                   เป้าประสงค์

                   ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

                   กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา

                   1.พัฒนาสังคมยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน

                   2.ส่งเสริมการศึกษาและแหล่งเรียนรู้

                   3.ส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม


× องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งโดม